วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค
วัฒนธรรมอาหาร

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ครบรสทุกภาค อนุรักษ์อาหารไทย

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค อาหารไทยอร่อยสู่ระดับโลก ต่างชาติยังต้องยกนิ้วให้

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค ประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็นภาค ของเขตในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีพื้นที่ แตกต่างกันไป และภาษาวัฒนธรรม รวมไปถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น อาหารในแต่ละภาค ก็จะมีสูตรการทำ หรือวิธีการทำ อาหารแต่ละภาค รวมไปถึงวัตถุดิบ และรสชาติที่ แตกต่างกันไปตามภูมิภาค วัฒนธรรมอาหารไทย ภาคใต้ส่วนมาก จะเป็นอาหารประเภทแกง

และเป็น อาหารทะเล เป็นส่วนใหญ่ ทางภาคเหนือก็จะเป็น อาหารเมนูสุขภาพ เน้นผักและสมุนไพร ทางภาคอีสาน ก็มีอาหารที่ คล้ายกับภาคเหนือ แต่รสชาติจะเน้น ไปในทางเผ็ดร้อน และสุดท้ายภาคกลาง เป็นอาหารตามหลักทั่วไป ซึ่งรวมทั้งอาหารนานาชาติอยู่ด้วย ผสมผสานกันไป เพราะมีอิทธิพล จากต่างชาติเข้ามาในสมัยก่อน วันนี้เราจะมาพูดถึง ความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมด้านอาหาร4ภาค

 

วัฒนธรรมอาหาร ของอาหารไทยนั้น ขึ้นชื่อว่ามีประวัติ มาอย่างยาวนาน คนส่วนใหญ่ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ต่างก็นิยมและชื่นชอบ อาหารไทยกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียง ในด้านความเข้มข้น และรสชาติจัดจ้าน ของอาหารที่ติดปาก และใจผู้คนมากมาย นับศตวรรษ

โดยอาหารไทยส่วนใหญ่ จะมีวิธีการทำอย่างง่าย ๆ และใช้เวลาไม่นาน โดยเฉพาะทุกครัว ของคนไทยจะมี ส่วนประกอบอาหาร ติดอยู่ในทุกครัว เป็นพวกเครื่องเทศต่าง ๆ ผักและเนื้อสัตว์ สามารถนำมาประกอบอาหาร มีทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด ยำ

และอีกหลายเมนู อาหารไทยนั้น ได้รับอิทธิพล ในการปรุงอาหาร และรูปแบบในการ รับประทานในสมัยอดีต เช่นการนำเครื่องเทศ มาใช้ในการประกอบอาหาร ก็ได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย ผ่านทางอินเดีย

 

และอาหารไทยนั้น มีทั้งอาหารไทยแท้ และอาหารไทยดัดแปลง อาหารไทยแท้นั้น คืออาหารที่คนไทย ทำกันสืบทอดกันมา รุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนมากเป็นอาหารแบบง่าย ๆ เช่นข้าวแช่ ต้มโคล้ง น้ำพริก แกงป่า และ หลน เป็นต้น ขนมไทยแท้ ก็ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล และ กะทิ เป็นส่วนใหญ่ มีขนมเปียกปูน ตะโก้ ลอดช่อง และที่เราเห็น ขนมที่ใส่ไข่ ส่วนมากได้รับอิทธิพล มาจากชาติอื่น

 

อาหารไทยดัดแปลง คืออาหารไทย ที่แต่งแปลงมาจากต่างประเทศ หรืออาหารไทย ที่ได้รับอิทธิพล มาจากต่างประเทศ บางอย่างคนไทย ก็คุ้นเคยจนไม่รู้ว่า เป็นอาหารของต่างชาติ เช่นมัสมั่น แกงกะหรี่ ซึ่งดัดแปลงมาจาก อาหารอินเดีย ต้มจืด แกงจืด ก็ดัดแปลงมาจากอาหารจีน 

ของหวาน หรือขนมหลายอย่าง ก็ได้รับการ ถ่ายทอดอิทธิพล มาจากชาวยุโรป ที่เข้ามาในประเทศไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด และ สังขยา

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค

อาหารเหนือ อ่อนโยน อ่อนช้อย ละมุนละไม ใครทานก็ติดใจ

อาหารของภาคเหนือ วัฒนธรรมอาหารภาคเหนือ ส่วนมากจะเป็น ไปตามบรรพบุรุษ อาหารส่วนใหญ่ ก็ได้มาจากธรรมชาติ เป็นของป่า หรือของที่อยู่ในบริเวณบ้าน พืชผัก และสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ที่เลี้ยงไว้ รวมไปถึงอาหาร ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล อย่างเช่น หน่อไม้ เห็ดนา ๆ ชนิด

ที่สามารถหา ได้จากในป่า หรือที่ขึ้นอยู่แถวบ้าน ภาคเหนือมีวัฒนธรรม การบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก จะปั้นข้าวเหนียว แล้วจิ้มกับน้ำแกง หรือน้ำพริก ชาวภาคเหนือ ก็จะมีน้ำพริก รับประทานอยู่หลายเมนูด้วยกัน มีน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกตาแดง

ซึ่งจะมีผักเป็นเครื่องเคียง และเครื่องจิ้มรับประทานคู่กัน และมีผักสดผักนึ่ง สำหรับอาหารประเภทแกง ก็จะมี แกงแค แกงฮังเล แกงขนุน แกงหน่อไม้ แกงโฮ๊ะ แกงอ่อม แกงผักปัง แกงผักหวาน และแกงผักกาดจอ รวมไปถึงขนมจีนน้ำเงี้ยว และข้าวซอย

และ อาหารประเภทยำ นึ่ง หรือทอด ก็จะมี ยำหน่อไม้ ยำกบ ยำจิ๊นแห้ง ตำขนุน ตำมะม่วง ข้าวกั๊นจิ๊น ห่อนึ่งปลา แคบหมู ไส้อัว และจิ๊นส้มหมก อาหารของชาวภาคเหนือนั้น จะมีการจัดสำรับที่สวยงาม และวิธีการรับประทาน ก็เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเรียกว่าการกินขันโตก เพราะด้วยนิสัยของชาวเหนือ จะมีกิริยาที่แช่มช้อย ทำให้ส่งผลต่ออาหาร และทำให้อาหารรสชาติ ออกมาดีและลงตัว

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค

อาหารของภาคกลาง ในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย ข้าวปลาอาหาร จึงมีความอุดมสมบูรณ์ เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งพืชผัก ผลไม้หลากหลายชนิด ด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลาง จึงเป็นอาหารที่ มีความหลากหลาย

จึงทำให้รสชาติ ของอาหารภาคกลาง ไม่ได้เน้นไปใน รสได้รถหนึ่งโดยเฉพาะ มีทั้งรส เค็ม เปรี้ยว เผ็ด หวาน คลุกเคล้ากันไป ตามแต่ละชนิดของอาหาร นอกจากนี้ มักนิยมในการใช้ เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่นเครื่องเทศ และมักจะใช้กะทิ เป็นส่วนประกอบของอาหาร

อาหารของชาวภาคกลางนั้น เป็นอาหารที่มักจะมี เครื่องเคียงร่วมอยู่ด้วยในสำรับ เช่นน้ำพริกลงเรือ ก็จะมีอยู่ในสำรับ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวาน ทานคู่กับสะเดา จุดเด่นของอาหารภาคกลาง มักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ให้ดูน่าทาน มีความบรรจงวิจิตร ผักและผลไม้ นำมาแกะสลัก เป็นลวดลายอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึง ความเป็นเอกลักษณ์ ของอาหารไทยที่มี วัฒนธรรมและศิลปะที่งดงาม

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค ส้มตำเผ็ด ๆ กับปลาร้านัว ๆ ต้องยกให้อาหารอีสาน 

วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค

อาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน หากพูดถึงการ กินอาหารของคนอีสาน หลายคนคงรู้จัก และคุ้นเคยเป็นอย่างดี ชาวอีสานมักมี วิธีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่นเดียวกับการ รับประทานอาหาร ก็จะเป็นไปอย่างง่าย ๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง

เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอด สอดคล้องกับธรรมชาติของอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จัก แสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถรับประทานได้ ในละแวกท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหาร นำมารับประทาน อาหารของชาวอีสาน เป็นอาหารที่มีความแตกต่าง จากอาหารของภาคอื่น

ซึ่งเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต อย่างเรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานนั้น ในแต่ละมื้อ ก็จะเป็นอาหารง่าย ๆ มีสองถึงสามจาน ซึ่งในทุกมื้อ จะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลัก โปรตีนหรือเนื้อสัตว์ ก็จะเป็นเนื้อปลา เนื้อวัวหรือเนื้อควาย

ความพึงพอใจ ของการรับประทานอาหารของชาวอีสานนั้น ไม่ได้ตายตัว แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน และอาหารพื้นบ้าน ของชาวอีสานส่วนใหญ่นั้น จะมีรสชาติเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสาน ที่สำคัญและเรียกว่า ขาดไม่ได้เลยก็คือ ปลาร้า

ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ เกิดจากภูมิปัญญา ของการถนอมอาหาร ตั้งแต่บรรพบุรุษ พูดได้เลยว่าปลาร้านั้น ต้องมีทุกครัวเรือน ของชาวอีสานเลยก็ว่าได้ ปลาร้าถือว่าเป็นส่วนประกอบหลัก ของอาหารทุกประเภท ซึ่งเหมือนกับน้ำปลา ที่ชาวภาคกลางนั้นนิยมใช้

 

อาหารของภาคใต้ อาหารพื้นบ้านของชาวภาคใต้ มีรสชาติโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากดินแดนภาคใต้ เป็นศูนย์กลางของการเดินเรือ และค้าขายของพ่อค้า จากอินเดียและจีน และอีกหลายประเทศ ทำให้วัฒนธรรม ของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอินเดียใต้

เป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศ ในการปรุงอาหาร เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก ทำให้อาหารของชาวพื้นบ้านภาคใต้ มีเอกลักษณ์ผสมผสาน ระหว่างอาหารพื้นบ้าน กับอาหารอินเดีย เช่นน้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเล ผสมกับเม็ดเกลือ มีความคล้ายคลึงกับ อาหารของมาเลเซีย

อาหารของชาวภาคใต้นั้น จึงมีรสชาติที่เผ็ด มากกว่าภาคอื่น และด้วยภูมิศาสตร์ของภาคใต้ อยู่ติดกับทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพประมง เพราะมีทรัพยากรในทะเลมากมาย อาหารทะเลจึงเป็นอาหารหลัก ในการดำรงชีวิต ของคนส่วนใหญ่

และมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงนำเครื่องเทศ เข้ามาช่วยในการดับกลิ่นคาว อาหารของภาคใต้ จึงมีสีออกเหลือง ๆ แทบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสจัด จึงมักทานคู่กับผักสด เพื่อลดความเผ็ดร้อน

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับอาหาร กับวัฒนธรรมการกินอาหาร ถือเป็นเกล็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ พอได้ความรู้ และเพื่อเป็นอาการอนุรักษ์ วัฒนธรรมอาหาร 4 ภาค ก็สามารถไปหาสูตร และวิธีการทำ ได้จากอินเทอร์เน็ต 

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ @UFA-X10

 

เรียบเรียงโดย แพรรี่คนสวย